ข้อมูลทั่วไป
-
สภาพทั่วไป
ที่ตั้ง เทศบาลตำบลบ้านหาร ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ ของอำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา ระยะห่างจากอำเภอบางกล่ำ 8 กิโลเมตร เนื้อที่ เทศบาลตำบลบ้านหาร มีเนื้อที่ ประมาณ 12 ตารางกิโลเมตร
ภูมิประเทศ สภาพพื้นที่เป็นที่ราบ มีอาณาเขต ดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อเขต เทศบาลตำบลท่าช้าง และ อบต.แม่ทอม อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา
ทิศใต้ ติดต่อเขต เทศบาลเมืองคลองแห และ อบต.คลองอู่ตะเภา อำเภอ
ทิศตะวันออก ติดต่อเขต อบต.แม่ทอม อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา
ทิศตะวันตก ติดต่อเขต เทศบาลตำบลท่าช้าง อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา
จำนวนหมู่บ้าน/ตำบล 5 หมู่บ้าน/ตำบล
หมู่ที่ 1. บ้านคู จำนวน 1,500 ไร่
หมู่ที่ 2. บ้านท่าหาด จำนวน 500 ไร่
หมู่ที่ 3. บ้านคดยาง จำนวน 652 ไร่
หมู่ที่ 4. บ้านหาร จำนวน 1,025 ไร่
หมู่ที่ 5. บ้านเกาะไหล จำนวน 1,100 ไร่
-
แรกเริ่มจัดตั้งเป็น อบต.บ้านหาร ตั้งอยู่หมู่ที่ 5เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2540 มีพื้นที่ 12 ตารางกิโลเมตร มีหมู่บ้านจำนวน 5 หมู่บ้าน
หมู่ที่ 1 บ้านคู 1.5 ตร.กม.
หมู่ที่ 2 บ้านท่าหาด 1.25 ตร.กม.
หมู่ที่ 3 บ้านคดยาง 1.00 ตร.กม.
หมู่ที่ 4 บ้านหาร 2.99 ตร.กม.
หมู่ที่ 5 บ้านเกาะไหล 5.22 ตร.กม.
รวม 12 ตร.กม. ได้ย้ายอาคารสำนักงานมาอยู่ที่อาคารหลังใหม่ โดยมีพิธีเปิดอาคารสำนักงานอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 26 มกราคม 2551 ได้รับการจัดตั้งเป็นเทศบาลตำบลบ้านหาร ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 27 ตุลาคม 2552
-
ตำบลน่าอยู่ ควบคู่วัฒนธรรมประเพณี
การกีฬา เศรษฐกิจดี
ประชาชนมีคุณภาพพันธกิจการพัฒนา1. พัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐาน สาธารณูปโภคและสาธารณูปการ
2. ส่งเสริมการประกอบอาชีพของประชาชนเพื่อให้มีรายได้เพิ่มขึ้น
3. จัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
4. กำจัดขยะมูลฝอยสิ่งปฏิกูลและน้ำเสีย
5. พัฒนาให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี
6. ส่งเสริมการศึกษาและวัฒนธรรม ประเพณีของท้องถิ่น
7. ป้องรักษาและส่งเสริมสุขภาพอนามัยของประชาชน
8. ส่งเสริมให้ประชาชนได้มีส่วนร่วม แสดงความคิดเห็นหรือทำงานร่วมกับอบต.
9. ปรับปรุงและจัดระบบบริหารให้สามารถอำนวยการบริการแก่ประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
-
ตราเทศบาลความหมายของตราสัญลักษณ์เทศบาลตำบลบ้านหาร
ส่วนที่ 1 เป็นหนองน้ำชื่อ “หนองหาร” ซึ่งเป็นหนองน้ำที่ชาวพุทธและมุสลิม ใช้เป็นแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค และด้านเกษตรกรรม หมายถึง ความอุดมสมบูรณ์ และความอยู่ดีกินดีของ ประชาชนในตำบล
ส่วนที่ 2 เป็นภาพห่าน 5 ตัว คือ จำนวน 5 หมู่บ้านในเขตตำบลบ้านหาร หมายถึง ความสามัคคีของประชาชนทั้งสองวัฒนธรรม